การอ่านโน้ตดนตรีไทย
ก่อนที่จะมีฝึกอ่านโน้ตดนตรีไทยนั้น ผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้ในด้านของ จังหวะ และ ทำนอง เสียก่อน
ทำนอง หมายถึง เสียงสูง กลาง ต่ำ นำมาเรียบเรียงกันจนทำให้เกิดเป็นทำนองที่ไพเราะ
จังหวะ หมายถึง อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมออย่างมีระบบ โดยจังหวะในที่นี้ยกตัวอย่างให้เป็นจังหวะของการปรบมือจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จังหวะคือ
จังหวะตก หมายถึงจังหวะหนักหรือจังหวะที่ปรบมือแล้วทำให้เกิดเสียง
จังหวะยก หมายถึง จังหวะที่เรายกมือออกจากันหรือจังหวะที่ไม่เกิดเสียงใดๆ
สัญลักษณ์และองค์ประกอบที่ใช้ในการอ่านโน้ตดนตรีไทย
การบันทึกโน้ตดนตรีไทย ดนตรีไทยในหนึ่งบรรทัด มีห้องทั้งหมด 8 ห้อง ในแต่ละห้องสามารถบรรจุโน้ตได้ 4 ตัว
ในหนึ่งห้อง แบ่งออกได้เป็น 4 จังหวะ คือ /_ _ _ _/ เรียงลำดับ จากจังหวะที่ 1 2 3 และ 4 โดยกำหนดให้
จังหวะที่1 เป็นจังหวะยก
จังหวะที่2 เป็นจังหวะตก
จังหวะที่3 เป็นจังหวะยก
จังหวะที่4 เป็นจังหวะตก
ในการอ่านโน้ตดนตรีไทยนั้น ก่อนอื่นจะต้องฝึกนับจังหวะ 1 ถึง 4 วนกันไปเรื่อยๆ เสียก่อน แล้วให้ทำการปรบมือโดยที่ให้จังหวะตก ไปตกอยู่ที่จังหวะตัวที่ 2 และ 4 นั่นก็แสดงว่าจังหวะที่ 1 และ 3 จะเป็นจังหวะที่ไม่ได้ปรมมือนั้นเอง หรือก็คือจังหวะยกนั้นเอง
ทีนี้เราลองมาฝึกอ่านโน้ตของจริงกันดู
ตัวอย่าง /_ _ _ ด/_ _ _ ร/_ _ _ ม/_ _ _ ฟ/_ _ _ ซ/_ _ _ ล/_ _ _ ท/_ _ _ ด/
เมื่อเราสังเกตจะเห็นได้ว่าในแต่ละห้องนั้นจะมีโน้ตอยู่ตำแหน่งของตัวที่ 4 ของทุกห้อง ส่วน ตำแหน่งที่ 1 2 และ 3 ไม่มีโน้ตอยู่เมื่อเรานับหรือปรมมือในตำแหน่งเหล่านั้น เราจึงไม่ต้องออกเสียงโน้ตตัวใด แต่เมื่่อเรานับหรือปรบมือไปถึงจังหวะที่ 4 เราจะต้องออกเสียงตัวโน้ต เพราะโน้ตทุกตัวอยู่ในจังหวะที่ 4 ของทุกห้อง เพราะฉะนั้นให้เราทำการปรบมือตามปกติพอถึงจังหวะที่มีโน้ตจึงค่อยเปล่งเสียงโน้ตนั้นออกมา
การอ่านโน้ตดนตรีไทยจึงไม่ค่อยยากมีหลักการง่ายๆ คือ ปรมมือตามปกติ โดยให้คำนึงถึงจังหวะตก และ จังหวะยก แล้วก็ดูโน้ต ถ้ามีโน้ตอยู่จังหวะไหนก็ทำการเปล่งเสียงในจังหวะนั้น
อ้างอิงข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น